สภาพแม่เหล็กและแรงแม่เหล็ก

คุณสมบัติ

  • “แรงแม่เหล็ก” คือ แรงที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก และ “สภาพแม่เหล็ก” คือ สาเหตุ ปรากฏการณ์ที่สสารมีสภาพแม่เหล็ก เรียกว่า “การทำให้เป็นแม่เหล็ก” แนวความคิดที่ใช้อธิบายแรงแม่เหล็กมีอยู่สองแบบ คือ “แรงดูด” ทางกายภาพ และ “ความเข้มของสนามแม่เหล็ก” (ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก) เช่น ปรากฏการณ์สนามแม่เหล็ก

วัสดุและคุณลักษณะของแม่เหล็กประเภทหลัก

  • แม่เหล็กถาวร
    • แม่เหล็กเฟอร์ไรท์
    • แม่เหล็กแร่โลหะ
      • แม่เหล็กอัลนิโก
      • แม่เหล็กแรเอิร์ธ
        • แม่เหล็กซามาเรียมโคบอลต์
        • แม่เหล็กนีโอไดเมียม
    • แม่เหล็กแบบบอนด์
      • แม่เหล็กยาง
      • แม่เหล็กพลาสติก
  • แม่เหล็กไฟฟ้า

วัสดุแม่เหล็ก

เฟอร์ไรท์ อัลนิโก แรเอิร์ธ
ชนิด SmCo ชนิด NdFe
แรงแม่เหล็ก
เสถียรภาพ
ความคงทนต่ออุณหภูมิ
ความแข็งแรงเชิงกล
ราคา ◎ (ไม่แพง) ○ (ปกติ) △ (แพง) △ (แพง)

◎ : ดีเยี่ยม ○ : ดี △ : แย่

แม่เหล็กเฟอร์ไรท์

หากมีแรงดูด 100% ที่อุณหภูมิ 20℃ แรงแม่เหล็กจะลดลงเหลือ 85% ที่อุณหภูมิ 50℃ เหลือ 70% ที่อุณหภูมิ 100℃ และเหลือ 40% หรือต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 200℃ และแม้จะกลับคืนสู่อุณหภูมิห้อง ก็ไม่สามารถมีแรงแม่เหล็กเหมือนเดิมได้

แม่เหล็กอัลนิโก

มีคุณลักษณะในการทนต่ออุณหภูมิได้ดีที่สุดจากวัสดุแม่เหล็กทั้งสามชนิดนี้ หากมีแรงดูด 100% ที่อุณหภูมิ 20℃ แรงแม่เหล็กจะลดลงเหลือ 96% ที่อุณหภูมิ 100℃ เหลือ 93% ที่อุณหภูมิ 200℃ และเหลือ 89% หรือต่ำกว่า ที่อุณหภูมิ 300℃ หากไม่คำนึงถึงการทนความร้อนขององค์ประกอบอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์ จะสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 450 – 500℃

แม่เหล็กแรเอิร์ธ

หากมีแรงดูด 100% ที่อุณหภูมิ 20 ℃ แรงแม่เหล็กจะลดลงเหลือ 95% ที่อุณหภูมิ 100℃ และเหลือ 85% ที่อุณหภูมิ 200℃ สำหรับแม่เหล็กชนิดนีโอไดเมียม/แร่เหล็ก (NdFe) แม้จะกลับคืนสู่อุณหภูมิห้องจาก 60℃ หรือสูงกว่า ก็ไม่สามารถมีแรงแม่เหล็กเหมือนเดิมได้ แม้ว่าแม่เหล็กประเภทซามาเรียม/โคบอลต์ (SmCo) จะมีคุณลักษณะที่ทนต่ออุณหภูมิดีกว่าแม่เหล็กประเภทเฟอร์ไรท์ แต่ควรจำกัดอุณหภูมิไว้ไม่ให้เกิน 150℃ เมื่อใช้งานอย่างต่อเนื่องเพราะอาจเสื่อมสภาพได้ แต่หากใช้งานในระยะเวลาอันสั้น จะสามารถใช้ได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 200℃


ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กตกค้าง
แรงบังคับ
แม่เหล็กอัลนิโก แม่เหล็กเฟอร์ไรท์
แม่เหล็กนีโอไดเมียม แม่เหล็กซามาเรียมโคบอลต์ แม่เหล็กนีโอไดเมียมแบบบอนด์

หน่วยวัดแม่เหล็ก

ฟลักซ์แม่เหล็ก (เส้นแรงแม่เหล็ก)
ฟลักซ์ของสนามแม่เหล็กที่สามารถทะลุผ่านพื้นผิวส่วนโค้งในอวกาศได้เวเบอร์ (Wb) (หน่วยเดิมคือ แมกซ์เวลล์ (Max)) (1 Max = 10 – 8 Wb)

ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก
ความเข้มข้นของพื้นผิวต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ของเส้นแรงแม่เหล็ก เทสลา (T) (หน่วยเดิมคือ เกาส์ (G) (1 G = 10 – 4 T)

คุณสมบัติแม่เหล็กที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทาง (Isotropic) / คุณสมบัติแม่เหล็กที่ขึ้นอยู่กับทิศทาง (Anisotropic)

แม่เหล็ก Isotropic
แม่เหล็ก Anisotropic