คุณสมบัติของประแจวัดแรงบิด แบรนด์ Tohnichi

ความแม่นยำสูง

ประแจวัดแรงบิดแบบคลิกของ Tohnichi สำหรับงานขันมีความแม่นยำ ±3% ซึ่งเป็นอัตราความแม่นยำตามมาตรฐาน ISO 6789 นอกจากนี้ยังมีประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอล ซีรีส์ CEM3 สำหรับการตรวจสอบและบันทึกค่าวัดมีค่าความแม่นยำ ±1% ส่วนประแจวัดแรงบิดแบบหมุน ซีรี่ส์ DB มีช่วงการวัดที่กว้างกว่ามาตรฐาน ISO 6789 Type I Class B ดังนั้นการสอบเทียบจะดำเนินการจำนวนจุดการวัด 4 จุด โดยทีละจุดแรงบิดขั้นต่ำน้อยกว่า 20% โดยผ่านการรับรองการสอบเทียบจะมาพร้อมใบ Calibration Certificate จากโรงงาน

ประแจวัดแรงบิดแบบหมุน ซีรี่ส์ DB/DBE/DBR

ประแจวัดแรงบิดแบบดิจิตอล ซีรี่ส์ -CEM3

ความทนทานสูง

Tohnichi รับประกันความแม่นยำและความทนทาน 100,000 รอบหรือ 1 ปีที่การตั้งค่าแรงบิดสูงสุด ซึ่งแล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ในกรณีของประแจวัดแรงบิดแบบสัญญาณ สำหรับรุ่นที่แรงบิดสูงสุด 420 N・m และรุ่นที่มีแรงบิดสูงสุด 550 ถึง 1,000 N・m จะดำเนินการที่ 500,000 ครั้ง หรือน้อยกว่า 1 ล้านครั้ง และสำหรับรุ่นที่เกิน 1,000 N・m จะใช้งานได้ประมาณ 250,000 ครั้ง หากมีการสอบเทียบ ปรับแต่ง และเปลี่ยนชิ้นส่วนทุกๆ 100,000 ครั้ง

ตัวอย่าง การวิเคราะห์หัวขับทั่วไปด้วยเทคโนโลยี

ตัวอย่าง การวิเคราะห์หัวขับขนาดเล็กที่มีความทนทานสูงด้วยเทคโนโลยี

หัวขับขนาดเล็กที่มีความทนทานสูง

การนำเทคโนโลยี FME (Finite Element Method) มาใช้ในการวิเคราะห์ ทำให้ Tohnichi ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประแจวัดแรงบิดให้มีหัวขับขนาดเล็กลงและหัวแบบเปลี่ยนได้ (ใช้กับ QL25N5-1/4, QL100N4-3/8, QL280N-1/2 และ ซีรีส์ QH แบบเปลี่ยนหัวได้) สิ่งนี้ทำให้ประแจวัดแรงบิดของ Tohnichi สามารถใช้กับลูกบ๊อกซ์ที่ขนาดเล็กลงได้ เพื่อลดขนาดน้ำหนักรวมของเครื่องมือและช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของผู้ใช้ได้ดีขึ้น

การทดสอบความทนทานเพื่อยืนยันความทนทานสูง

Tohnichi ได้ทำการทดสอบความทนทานเมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยก่อนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ยังเป็นผู้ทดสอบความทนทานเพื่อการรับรองการอนุมัติประเภท นอกจากนี้เมื่อมีการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำการทดสอบด้วยการสุ่มตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับความทนทานสูงของ Tohnichi อีกด้วย

ระบบการรับประกันสินค้า

ประแจวัดแรงบิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมมักจะได้รับการลงทะเบียนตามข้อกำหนด ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบการรับประกันในระยะยาวที่มั่นคง Tohnichi ไม่เพียงแต่พยายามที่จะมุ่งมั่นในการจัดหาผลิตภัณฑ์ให้มีความเสถียรในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับซ่อมบำรุงรวมถึงเครื่องมือสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เลิกผลิตด้วยระยะเวลาจำกัด 6 ปี นอกจากนี้ Tohnichi ยังได้จัดตั้งเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายทั้งในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างสบายใจ รวมถึงการสอบเทียบและการซ่อมบำรุงอีกด้วย

ประแจวัดแรงบิด Tohnichi ทั้ง 4 แบบ เพื่องานในอุดมคติของคุณ

คุณลักษณะเฉพาะของประแจวัดแรงบิด Tohnichi ชนิดสัญญาณ

ประแจวัดแรงบิด แบบคลิก (Click Type)

ประแจวัดแรงบิดมาตรฐานที่พบกันมากที่สุด เมื่อขันถึงแรงบิดที่ตั้งไว้จะมีเสียงคลิกดังออกมา และหลังจากได้ยินเสียงคลิกแล้วให้หยุดขันทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แรงบิดเกินจากที่ตั้งค่าไว้

ตัวอย่าง ประแจวัดแรงบิด แบบคลิก (Click Type)

ประแจวัดแรงบิด แบบคลิกสองสเต็ป (Two Step Click Type)

เมื่อขันแน่นจนได้ยินเสียงคลิกแรก (เสียงคลิกหลัก) และขันแน่นต่อไปจะได้ยินเสียงคลิกที่ 2 ถ้าหากคุณขันแน่นต่อจะนั้นจะทำให้แรงบิดเกิน เมื่อเทียบกับประแจวัดแรงบิดแบบคลิก (Click Type) แล้วประแจวัดแรงบิด แบบคลิกสองสเต็ป (Two Step Click Type) จะเหลือระยะที่ป้องกันแรงบิดเกินที่กว้างกว่า ทำให้ป้องกันแรงบิดเกินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง ประแจวัดแรงบิด แบบคลิกสองสเต็ป (Two Step Click Type)

ประแจวัดแรงบิด แบบ Slip

เมื่อขันถึงแรงบิดที่ตั้งไว้แล้วปากประแจจะเริ่มหมุนหรือลื่นหลุดออก เมื่อแรงบิดในการขันแน่นใกล้จะคงที่แล้วปากประแจจะหมุนทำมุมประมาณ 90° และหากคุณทำการขันต่อหลังจากนั้นอาจจะทำให้แรงบิดเกินได้ ดังนั้น เมื่อปากประแจวัดแรงบิดชนิดนี้เลื่อนและมีลักษณะงอลงแล้วให้หยุดขันต่อทันที เพื่อป้องกันแรงบิดเกิน

ตัวอย่าง ประแจวัดแรงบิด แบบ Slip

ประแจวัดแรงบิด แบบ Rotary Slip

เมื่อขันแน่นจนถึงแรงบิดที่ตั้งไว้แล้วจะเกิดการหมุนและได้ยินเสียงคลิก หากคุณขันแน่นเมื่อถึงแรงบิดที่ตั้งไว้ซ้ำอีกจะทำให้หัวประแจหมุนและมีเสียงคลิกซ้ำๆ ซึ่งเป็นกลไกการหมุนแบบ Rotary Slip ที่ป้องกันแรงบิดเกินได้อย่างสมบูรณ์

ตัวอย่าง ประแจวัดแรงบิด กลไกแบบหมุน (Rotary Slip Type)

TOHNICHI